ปลากัด ใครบ้างไม่รู้จักปลาชนิดนี้? ทว่า ก่อนจะเรียนรู้เรื่องราวของเจ้าปลานักสู้แสนสวยตัวนี้ ขอกล่าวคำว่าสวัสดี(ชื่อเว็บ)ทุก ๆ คนค่า วันนี้จะมาอาสาพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักปลานักสู้แห่งสยามกันนะคะ
เป็นที่ทราบกันดีว่านอกจากเลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามแล้วยังเป็นปลาที่มีความสามารถในเรื่องของการต่อสู้จนถูกขนานนามว่า”ปลานักสู้แห่งสยาม” ต้นกำเนิดปลากัดทุกสายพันธุ์ในเวลาต่อมากระทั่งทางภาครัฐของเรามีมติให้ “ปลากัดไทย” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ทั้งนี้เป็นไปเพื่อเชิดชูคุณค่าให้กับปลาชนิดนี้ ในส่วนต้นกำเนิดปลากัดทุกสายพันธุ์ เริ่มมาจากการนำปลากัดป่ามาเลี้ยงเองจนกลายมาเป็นปลาพื้นบ้านซึ่งก็จะมีสีสันสวยงามแตกต่างกันไป ในเวลาต่อมา ผู้เลี้ยงเห็นคุณค่าของปลาชนิดนี้ว่าน่าจะสามารถนำมาใช้ต่อยอดได้โดยดูจากสีสันและพฤติกรรม ดังนั้นถึงมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความแตกต่างทั้งรูปทรง และสีสันจนกลายมาเป็นปลาสวยงามอย่างที่เห็นกระทั่งเลื่องลือระบือนามไปถึงเมืองนอก เป็นปลาเศรษฐกิจ คนนิยมหันมาเลี้ยงกันมากขึ้นนำมาสู่การประกวดพันธุ์ปลาสวยงาม อย่างที่เป็นข่าวค่ะ
ปลากัดมีกี่สายพันธุ์น่าสนใจ อะไรบ้าง?
เป็นที่ทราบกันดีก่อนหน้านี้ว่า จุดกำเนิดของปลากัดสวยงามเริ่มมาจากการนำ”ปลากัดป่า” มาเลี้ยงจนกระทั่งเกิดการพัฒนาในเวลาต่อมาซึ่งมีกว่า 500 สายพันธุ์ซึ่งเราจะขอใช้ลักษณะทางกายภาพมาจำแนกพันธุ์ปลากัดดังนี้ค่ะ
ประเภทแรก ปลากัดครีบสั้น แบ่งออกเป็นปลากัดครีบสั้นหางเดี่ยวกับปลากัดครีบสั้นหางคู่ซึ่งมีทั้งหางใบพัด หางใบโพธิ์ หางมงกุฏ หางพระจันทร์ครึ่งดวงและหางพระอาทิตย์ครึ่งดวงค่ะ
ประเภทที่ 2 ปลากัดครีบยาว แบ่งออกเป็นปลากัดครีบยาวหางเดี่ยว ปลากัดครีบยาวหางคู่ ในส่วนลักษณะของหางในรูปแบบต่าง ๆ เหมือนกับประเภทที่ 1 ค่ะ
ประเภทที่ 3 ปลากัดป่า แบ่งออกเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมกับสายพันธุ์ที่พัฒนาแล้ว อย่างสายพันธุ์ดั้งเดิมได้แก่สายพันธุ์ภาคกลาง สายพันธุ์ภาคเหนือ สายพันธุ์ภาคใต้ สายพันธุ์ภาคอีสานและสายพันธุ์มหาชัยค่ะ
ประเภทที่ 4 ปลากัดยักษ์ แบ่งเป็น ปลากัดยักษ์ครีบสั้น ปลากัดยักษ์ครีบยาวและปลากัดยักษ์ป่าค่ะ
ปลากัด วิธีเลี้ยงและดูแลปลานักสู้แห่งสยาม
มาถึงหัวข้อสุดท้ายที่อยากจะฝากเพื่อน ๆ ในเรื่องของวิธีเลี้ยงปลากัดรวมถึงการดูแล ความที่ปลาชนิดนี้ดูแลง่าย โตไว เรามีแนวทางดี ๆ มานำเสนอสำหรับผู้สนใจเลี้ยงดังนี้ค่า
ก่อนอื่นเลย หาที่อยู่ให้กับปลากัด อาจจะเป็นขวดโหลหรือตู้ปลาสวย ๆ ก็ได้จากนั้นใส่น้ำลงไปในตู้แล้วนำปลาที่อยู่ในถุงลงไปแช่ในน้ำเพื่อปรับอุณหภูมิรวมถึงสภาพแวดล้อม ไม่จำเป็นต้องเตรียมออกซิเจนแต่อย่างใดเพราะปลาชนิดนี้สามารถว่ายขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำได้ทำเพียงแค่เปลี่ยนน้ำอาทิตย์ละครั้งเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว ซึ่งมีวิธีการง่าย ๆ ดังนี้
นำปลามาพักไว้จากนั้นทำความสะอาดตู้ปลาโดยไม่ลืมเก็บน้ำเก่าไว้ 1 ใน 3 จากตู้ปลาเดิมเพื่อรักษาสมดุล ให้เติมน้ำใหม่เพียงแค่ 2 ใน 3 เท่านั้น ในกรณีน้ำที่ใช้เป็นน้ำปะปาควรทิ้งไว้ 3 วันเพื่อให้คลอรีนระเหยแล้วถึงจะสามารถเติมน้ำลงตู้ได้ อย่าลืมใส่เกลือเม็ดเพียงเล็กน้อยเพื่อทำให้ปลารู้สึกผ่อนคลาย ในส่วนของอาหาร มีทั้งสำเร็จรูปและอาหารมีชีวิตจำพวกไรแดง ลูกน้ำ สามารถให้สลับกันได้เพื่อเพิ่มสีสันรวมถึงความแข็งแรงให้กับตัวปลาค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับเรื่องราวน่ารู้ ได้คัดสรรแนวทางคร่าว ๆ มาให้เพื่อน ๆ ได้ศึกษากัน ในส่วนของ Content ดี ๆ เพื่อน ๆ สามารถรอติดตามอ่านคราวหน้ากันได้เลยค่ะ รับรองไม่ผิดหวัง
เครดิต:
https://m.facebook.com/bettashowpow/
บทความที่อาจสนใจ ปลากระป๋อง กับประวัติความเป็นมาอันยาวนานที่หลายคนไม่เคยรู้