ปลา มันมีดีอะไรน่าสนใจ สวัสดีทุกผู้อ่าน และผู้ติดตามชาว mohahuntfish ยามนี้เราจะพากันถอดเสื้อลงน้ำกันอีกรอบ กระโจนไปแหวกว่ายในสระที่เรารัก ส่องหามองพันธุ์ปลา สายพันธุ์ต่างๆ ร่วมมุดน้ำไปเรียนรู้ดูเหล่าฝูงปลาพร้อมๆกันภายในบทความนี้ ปลายังมีเสน่ห์อย่างไรเรื่องนั้นเราก็จะไปค้นหาด้วยกัน พร้อมๆกับที่เราถือวิสาสะความเป็นมนุษย์จับ ,ตก มันมากิน เป็นความจำเป็นที่ต้องละเว้นต่อศีลธรรมสิ่งมีชีวิตที่เราอดใจไม่อยู่เสียจริง
ทันใดนั้นเราจึงตามกลิ่นน้ำมันไอควันลมทอดจากห้องครัวไปดูเมนูต่างๆ ที่สหายผู้อ่านบทความอาจต้องน้ำลายสอให้กับบางเมนูหรือในบางวรรค แล้วจึงปิดท้ายกันกับคุณประโยชน์ที่เราอาจยังไม่เคยครุ่นคำนึงถึงมัน ทั้งทางบริโภคหรืออุปโภค
ปลาวนว่ายในสายน้ำ นำเราไปดู
เมื่อเปลี่ยนชุดพร้อมลงน้ำ ท่านผู้ติดตามของ mohahuntfishก็พุ่งลงน้ำไปแหวกว่ายชมฝูงปลาพร้อมกันบัดนี้

ปลาตัวแรกที่เราจะชวนชม อาจจะพาทุกท่านขึ้นจากน้ำก่อนแล้วแต่งตัวไปจตุจักร ไปเดินเล่นโซนปลาสวยงาม ดูปลาตัวสีสันในขวดโหล ขวดแก้วร้านต่างๆกัน มันเป็นปลาที่แลเสน่ห์ล้นหลายแสดงลวดลายครีบส่ายสะบัดสวิงเหลือเกิน เป็นปลาที่ชวนนึกถึงอัตลักษณ์ไทยๆเป็นพิเศษ ปลาที่เรากล่าวถึงนั้นคือ ปลากัด(siamese fighting fish ,bettaในชื่อทางวิทยาศาสตร์)
เหตุผลที่ยกมาก่อนเพราะมันเป็นปลาที่มีลักษณะการแสดงออกอันเป็นเสน่ห์ มีนิสัยดุ เวลามันกัดกันก็วาดลวดลายต่อกันและกันราวกับนาฏกรรมลายไทย ปลากัดเป็นปลาที่อยู่คู่คนไทยมาแต่โบราณ และด้วยประการต่างๆที่ร่ายมานี้ ปลากัดจึงได้รับการจดทะเบียนโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไปตามระเบียบจากอัตลักษณ์ที่มันมีร่วมกับประเทศไทยมากมายที่มีร่วมกันมานี้
ปลากัดตามที่รู้จักกันจากการพบในถิ่นธรรมชาติดั้งเดิม เรามักเรียกขานพันธุ์มันว่า ปลากัดป่า ,ปลากัดทุ่ง/ปลากัดลูกทุ่ง ด้วยอุปนิสัยตัวมันที่มักกัดตอบโต้กัน จึงนิยมจับมาลงน้ำให้กัดกัน จะเป็นกีฬาหรือการพนันตามแต่ประสงค์จากผู้ร่วมวงนั้นๆจะเห็นชอบ ปัจจุบันมีการวิวัฒพัฒนาการสายพันธุ์โดยมนุษย์ สถาปนาชื่อเรียกรู้จักกันว่า “ปลากัดหม้อ “ให้มีสีหลากหลายขึ้น จากปลากัดเดิมให้มีขนาดตัวใหญ่ขึ้น ซึ่งส่วนมากเราพบมันได้ในโหลแก้ว ขวดแบน ขวดน้ำอัดลม หรือภาชนะใสโปร่งแสงอื่นๆ และก็แตกแยกย่อยการพัฒนาไปต่างๆอีกเช่น ปลากัดคราวเทลน์ ปลากัดฮาฟมูน ปลากัดจีน(ช่วงครีบยาว) ปลากัดแฟนซี(ที่มีสีตื่นตาขึ้น)
ปลาตัวต่อไปเป็นปลาน้ำจืดที่เราอาจเจอหากเราผุดโผล่ในแม่น้ำ และเรากำลังเท้าความไปสู่ ปลาเนื้ออ่อน หรือ Sheatfishes จัดอยู่สกุลPhalacronotus เป็นสกุลปลาน้ำจืดในอันดับของปลาหนังในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน
ปลาเนื้ออ่อนในไทยมักพบบริเวณ แม่น้ำโขง ลำน้ำเจ้าพระยา ปากน้ำโพ แม่น้ำป่าสัก ในภูมิภาคใต้ของไทย ก็มักพบได้ที่แม่น้ำตาปีลุ่มน้ำลึก เป็นต้น โดยฤดูที่มักจับมันได้เป็นพิเศษคือในต้นปีช่วงมกราคม-มีนาคม ปลาเนื้ออ่อนชอบกินหนอน กุ้ง แมลง ไปจนถึงจุลินทรีย์ขนาดเล็กต่างๆเป็นอาหารโปรด ลักษณะสังเกตที่เด่นผ่านกายภาพของปลาเนื้ออ่อนคือมันไม่มีครีบหลัง มีขนาดกลางหากเทียบโดยบรรทัดฐานของปลาอื่นๆในวงศ์สกุลเดียวกัน ในวาระบริโภคมันยังเป็นปลาที่คู่มื้อคนไทยมาอย่างช้านานเช่นกัน ไม่ว่าจะทอดน้ำปลาแบบไทยคลาสสิก ทำผัดฉ่ารสจัด หรือจะฉู่ฉี่เผ็ดมัน ก็เป็นตัวเลือกที่หนีไม่พ้นจากหลายมื้อคู่คนไทยมาจวบจนปัจจุบัน

ขยับกันต่อไปที่ปลาตัวถัดมาที่เราจะพูดถึงคือ ปลาฉลามหางไหม้ หรือ ปลาหางไหม้ หรือชื่อเท่ๆอย่าง ปลาหนามหลังหางดำ ปลาหางเหยี่ยว มีรูปทรวดทรงเพรียวยาว ครีบส่วนหางเว้าแฉกลึก เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินแวววาว แววตาโต มักขยับปากเรียวเล็กตลอดเวลา นิยมจับกลุ่มอยู่เป็นฝูง หากินที่บริเวณใต้ผืนน้ำ เคยพบชุกชุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย ปัจจุบันไม่พบแล้ว จึงสันนิษฐานกันว่าเจ้าปลาฉลามหางไหม้อาจถูกจับจากธรรมชาติไปขายเป็นปลาสวยงามและสูญพันธุ์ไปเป็นที่เรียบร้อย
ได้มีรายงานว่าพบในลุ่มแม่น้ำโขง ช่วงลาว,เวียดนาม,กำพูชา แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่ยืนยันหลักฐานแน่ชัด ปลาฉลามหางไหม้ที่เราเห็นในตลาดปลาเลี้ยงสวยงามทุกวันนี้มักเป็นสายพันธุ์อินโด เป็นปลาที่กระโดดได้สูงถึงราว 2 เมตร แต่เนื่องจากที่มันก็ใกล้สูญพันธ์ไม่ต่างกัน จึงนิยมมาผสมพันธุ์กันด้วยการผสมเทียม วิธีฉีดฮอร์โมน เป็นต้น และนี่ก็คือพันธุ์ปลาจำนวนหนึ่งที่เรายกข้อมูลมาเล่าสู่กันฟังกับผู้อ่านวันนี้
ปลา กับ คุณค่าทางโภชนาการ
สำหรับสุดท้ายนี้ก่อนที่จะลาผู้ติดตามไป เราจึงไม่ลืมที่จะกล่าวถึงประโยชน์ที่เราได้จากการรับประทานปลา ในบริบทของนักล่าในฐานะผู้เสวยคุณค่าของมันเห็นว่าเป็นอันดีที่เราจะซึมทราบลิ้มรสมันควบคู่ไปกับขณะเดียวกันเราก็ควรทราบถึงคุณประโยชน์ที่มันมอบให้แก่เรา และสรรเสริญทุกชีวิตที่มันตายเพื่อเราขณะที่เราได้อิ่มท้องจากมัน
โดยประโยชน์ของปลาที่เราจะยกมาพูดถึงคร่าวๆที่นี้คือโปรตีนและไขมันในปลา โปรตีนคือสารอาหารหนึ่งที่ปลามอบให้ชัดเจน ส่วนไขมันในที่นี้เล็งไปที่กรดไขมันในปลา ที่ช่วยเรื่องของการลดการจับตัวของเกล็ดเลือดและป้องกันโรค อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจหรือไขมันเลือดสูง เป็นต้น นอกจากนี้ เครื่องใน ตับ ของปลา ยังมีน้ำมัน และมีวิตามิน A D E Kรวมถึงแร่ธาตุต่างๆที่ละลายในไขมันได้ดี แถมยังได้แคลเซียมไปด้วย
และวันนี้ก็ขอลาคนรักปลาทั้งหลายไปเพียงเท่านี้หากมีข้อมูลเรื่องราวที่สนใจหรืออยากแลกเปลี่ยนอะไรกันในต่อๆไปก็สามารถร่วมพูดคุยกันได้ สวัสดีจ้า
แหล่งที่มารูปภาพ
https://fishingthai.com/siamese-bala-shark/
https://fishmanman.blogspot.com/2012/07/bala-shark.html
บทความที่อาจสนใจ 5 อันดับ อาหารปลาหางนกยูง คุณภาพดี ปลาสวย น้ำไม่ขุ่น