ปู เป็นอะไร สวัสดีผู้อ่านบน mohahuntfish วันนี้เงยหน้ารับลมทะเลไปด้วยกันเถิดทุกๆท่าน เราจะพากันไปดูเรื่องราวปู ปู ที่เราพบมันเดินมาจากรูสู่รูเวลาเราไปทะเลกันบ่อยๆ สำหรับสัตว์กำยำร่างเกราะพกก้ามตัวนี้จะมีสิ่งน่าค้นหาน่าสนใจเพียงใด และสิ่งน่าสนใจนั้นมีอะไรบ้าง เราก็จะพาผู้อ่านทะยานตะลอนไปท่องโลกปูๆกันตั้งแต่บัดนี้
ปูดู ดู ให้รู้จักปูนา

ปูที่ผู้เขียนกำลังพาชาวผู้อ่านไปแลชำเลืองดูกันในวันนี้เรากำลังจะกล่าวกันถึงสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ปู อันเป็นสัตว์ในจำพวกเท้าปล้องชนิดหนึ่ง อยู่ในไฟลัมอาโทรโพดาอันดับฐานบราชีอูรา (Brachyura) มีหลายชนิดที่อยู่ทั้งน้ำจืดหรือน้ำทะเล มีจวบไปจนถึงปูที่อยู่เฉพาะบนบก
ปูนั้นจะมีกระดองรูปร่างสมมาตรซึ่งเป็นแคลเซียมที่แข็ง มีแอบโดเมนที่พับลงไปอยู่ใต้กระดอง ซึ่งเป็นลักษณะอันสำคัญของสิ่งมีชีวิตอันดับฐานบราชีอูรา นี้ มันมีขาทั้งหมด10ขา มีก้ามใหญ่ 1 คู่ มีขาเดิน 4 คู่ แตกออกกระจายข้างลำตัวขนานทั้งสองข้าง หนวดคู่ที่ 2 อยู่ระหว่างตา สำหรับส่วนหางไม่มีแพนหางและไม่มีหน้าที่ชัดเจน
โดยเจ้าปูที่อาศัยในแนวปะการังประกอบไปด้วยหลายกลุ่มหลายรูปร่างแต่ละกลุ่มแต่ละรูปร่างก็สัมพันธ์กับพฤติกรรมของมัน ในปูชนิดที่มันอาศัยตามบริเวณที่เป็นพื้นทราย จะมีขาว่ายน้ำหรือกรรเชียง คล้ายๆปูม้า สำหรับในบางชนิดที่ตัวใหญ่มักมีกระดองแข็งคล้ายกับปูทะเลกว่า มีช่วงขาป้อม สั้นและแข็งแรงเพื่อวัตถุประสงค์ในการเกาะยึดกับหิน ตัวอย่างของปูกลุ่มนี้เช่นปูใบ้ก้ามดำ

สำหรับในปูบางชนิดต้องพรางตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมอันทำให้ภายนอกมันมักถูกมองว่ามีลักษณะที่ค่อนข้างแปลก เพื่อที่มันต้องแฝงตัวมันไปให้คล้ายกับปะการังหรือกะละปังหา (สัตว์ในจำพวกเดียวกับปะการังที่รูปร่างคล้ายกัน)หรือดาวขนนก เป็นต้น ยังไม่นับรวมถึงการปรับตัวของในตัวปูเองอย่างเช่นการใช้สาหร่ายหรือฟองน้ำมาติดตัวเองเพื่อพรางกายเป็นต้น แ
ต่ทว่าทั้งนี้ปูที่ดูท่าจะมีวิวัฒนาการมากกว่าเพื่อนๆปูกลุ่มอื่นอย่างเช่น ปูเสฉวน เจ้าปูที่ถูกจัดอยู่ในอันดับฐานปูปลอม (Anomura) กลไกพิเศษของเจ้าปูเสฉวนคือมันมีความสามารถในการที่จะเปลี่ยนส่วนท้องให้นิ่มเพื่อให้ขดงอได้ ให้มันสามารถเข้าไปอยู่ในเปลือกหอย และสามารถนำเปลือกหอยติดตัวมันไปด้วยได้ตลอดเวลาผ่านความสามารถในกลไกส่วนนี้ของมัน โดยปัจจุบัน ปู ได้รับการจำแนกไว้แล้วกว่า 6,000 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบไปแล้วรวม 824 ชนิดและส่วนใหญ่มักพบ ปู ในแถบอินโด-แปซิฟิก เป็นต้น
และวันนี้เรา ก็จะยกเรื่องราวปูๆตัวหนึ่งที่เราคุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ต่างๆของมัน หรือข้อมูลอื่นๆใดก็ตามหากว่าถ้าเกี่ยวกับเจ้าปูตัวนี้แล้ว เราจะหยิบยกมาแบ่งปันให้ผู้อ่านกันที่นี้ ปูตัวนี้ที่กล่าวถึงคือเจ้าปูที่มักอาศัยตามเถียงนา และเราจะพบเจอมันได้ตามนาข้าว ใช่แล้ว!…ในนามของมันมีนามว่า ปูนา ปูชนิดนี้เป็นปูน้ำจืดที่อยู่ในวงศ์ parathelphusidae สกุล Somanniathelphusa เจ้าปูนานี้แพร่กระจายพันธุ์มันโดยทั่วไป ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมไปจนถึงบางส่วนพื้นที่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออก

ซึ่งสำหรับชาวนาหรือเกษตรกรแล้ว เจ้าปูนานี้ถูกหมายหัวเป็นปฏิปักษ์ต่อต้นข้าวอย่างชัดเจน เพราะปูนาจะกัดแทะ กินต้นข้าว ที่ปักใหม่ๆทำให้ต้นเสีย เป็นผลให้ชาวนา เกษตรกรทั้งหลาย ต้องปักดำนาหลายครั้ง และนอกจากการทำลายผลผลิตของมันแล้ว ปูนายังชอบขุดรูตามคันนาส่งผลให้คันนารั่ว กักเก็บน้ำไว้ไม่ได้ ทำให้เจ้าปูนานี้ขยับไปเป็นอาหารอันราคาถูกรสชาติโอชา ทั้งยังหาง่ายพร้อมกับช่วยให้เกษตรกรกำจัดศัตรูพืชที่ไร่ตนเองได้ไปด้วยในตัว
สำหรับชนิดที่พบในประเทศไทยสามารถจำแนกออกได้เป็น 8 ชนิด ตามภาคต่างๆดังนี้ ชนิดที่หนึ่ง Somanniathelphusa germaini พบในไทย 27 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 22 จังหวัด ภาคตะวันตก 2 จังหวัด ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ภาคใต้ 1 จังหวัดและภาคเหนือ 1 จังหวัด ,
ชนิดที่สอง Somanniathelphusa bangkokensis พบใน 18 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 8 จังหวัด ภาคตะวันตก 4 จังหวัด ภาคตะวันออก 2 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด
,ชนิดที่สาม Somanniathelphusa sexpunetata พบใน 19 จังหวัดคือ คือ ภาคกลาง 1 จังหวัด ภาคตะวันตก 1 จังหวัด ภาคตะวันออก 4 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด
,ชนิดที่สี่ Somanniathelphusa maehongsonensis เป็นปูชนิดใหม่ เพิ่งพบแห่งเดียว ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
,ชนิดที่ห้า Somanniathelphusa fangensis เป็นปูชนิดใหม่ ที่ปัจจุบันพบเพียงในจังหวัดลำปางและเชียงใหม่
,ชนิดที่หก Somanniathelphusa denchaii เป็นปูชนิดใหม่ที่พบในจังหวัดแพร่ ,
ชนิดที่เจ็ด Somanniathelphusa nani เป็นปูชนิดใหม่อีกเช่นกันที่เพิ่งพบในจังหวัดน่าน
และสุดท้ายชนิดที่แปด Somanniathelphusa dugasti (หรือในอดีตเรียกว่า Esanthelphusa dugasti) พบใน ภาคกลาง 10 จังหวัด ภาคตะวันตก 3 จังหวัด ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ภาคเหนือ 9 จังหวัด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 จังหวัด เป็นต้น
ปูนานั้นเป็นสัตว์หากินในเวลากลางคืนเสียส่วนมากโดยปูนาเป็นปูที่เรามักจะพบได้มากในฤดูฝน เพราะเป็นฤดูอันอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การผสมพันธุ์ไปจนถึงวางไข่ที่เกิดขึ้นเพียงปีละครั้งของมัน
ปูคู่ซี้ เมื่อเพื่อนตัวนี้กลับกลายเป็นโภชนา
และท้ายที่สุดก่อนจะลาผู้อ่านที่ติดตาม mohahuntfish เราทุกท่าน เราก็จะมีคุณค่า ประโยชน์โภชนาของมันมาเล่าสู่กันฟังให้ทิ้งท้ายให้ซาบซึ้งกัน อาทิว่า บำรุงกระดูก เนื่องจากในเนื้อปูมีธาตุฟอสฟอรัสจำนวนมากที่จำเป็นต่อกระดูกและฟัน หรือจะเป็นระบบประสาท ที่เจ้าปูก็ยังมี วิตามินบี2 ซีลีเนียมทองแดงไปจนถึงกรดไขมันโอเมก้า 3 สารเหล่านี้ทั้งบำรุงสมอง รักษาระดับคอเลสเตอรัลให้สมดุล แม้กระทั่ง ลดระดับความดันเลือด เป็นต้น
สำหรับที่กล่าวมานี้ นี่ก็เป็นเพียงประโยชน์โภชนาการเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่เรายกตัวอย่างมา แต่เท่าที่กล่าวนั้น ก็คงทำให้ผู้ติดตาม mohahuntfish หันมาสนใจและเลือกรับประทานมันมากขึ้นไม่น้อยเลยใช่ไหมล่ะ ฝากเจ้าปูนักกล้ามไว้ในอ้อมกอดผู้อ่านด้วยละ
แหล่งที่มา
https://www.nstda.or.th/agritec/crab-station/
บทความที่อาจสนใจ เมนูกุ้ง กุ้งทอดเทมปุระ อร่อยกรอบ ๆ เหมือนร้านอาหารญี่ปุ่น